ออฟฟิศของ
DiaTech อยู่บนตึกอำนวยการ
ซึ่งเป็นอาคารปัสตุระสภา
(Pastuer Institute) เมื่อแรกตั้ง ห้องที่ผมอยู่เป็นห้องตกแต่งใหม่ติดกับโถงบันได พี่ดวงจันทร์เป็นเลขาฯและเป็นผู้จัดการสำนักงาน แล้วก็มีดร.ไวลด์
ที่ปรึกษาของกองวิทยาศาสตร์
แล้วก็ผม ในห้องจะมีส่วนของแพนทรี
มีเครื่องถ่ายเอกสาร
คอมพิวเตอร์ ห้องตรงข้ามจะเป็นห้องผู้อำนวยการขนาดใหญ่มากและสวยมากด้วยลายไม้แบบโบราณ อาจารย์ศุภวัฒน์
(ศาสตราจารย์ นพ.ศุภวัฒน์
ชุติวงศ์) เป็นผู้อำนวยการ ถ้าผมจะไม่กล่าวถึงดร.ไวลด์เลยก็ดูจะไม่สมบูรณ์ ดร.ไวลด์ เป็นหมอ
ชำนาญเรื่องโรคติดเชื้อ
เกษียณอายุจากสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ท่านจะไป ช่วย
round ward สอนนักเรียนแพทย์เป็นระยะ แล้วก็จะไปออกตรวจคนไข้ที่โรงพยายาล
BNH ด้วย และเป็นเจ้านายคนหนึ่งของผม ผมมีเจ้านายสามคน
ถ้าเป็นสายบริหารคืออาจารย์ศุภวัฒน์ สายวิจัยก็อาจารย์ประพันธ์ สายงาน DiaTech ก็ดร.ไวลด์ ก็ต้องใช้วิจารณญาณเองว่าเรื่อไหนจะไปหาใครดี ดร.ไวด์เป็นคนไฮเปอร์ขนาดหนัก
คิดเร็ว ทำเร็ว โครมครามตามแบบอเมริกัน
มีอารมณ์ขันตลอดเวลา
ท่านมีบ้านอยู่ที่อลาสกา คุณแอนนิตาจะมาเมืองไทยในทุกฤดูหนาว
จะกลับไปก็หลังปีใหม่ ดร.ไวด์จะขับรถโฟล์คกอล์ฟพวงมาลัยซ้ายคันสีฟ้า และมักชวนผมไปออกหน่วยค่ายผู้อพยพเขมรเสมอๆ เนื่องจากเป็นพวงมาลัยซ้าย
เวลาจะเร่งแซงมักทำให้ผมใจหายใจคว่ำเสมอ
ผมต้องเป็นคนคอยดูรถสวนให้ ท่านไม่ค่อยจะปล่อยให้ปากท่านว่างเท่าไหร่
จะพูดไม่หยุด ผมได้แสลงอเมริกันก็ตอนคุยกันนี่แหละครับ ความแอคทีฟ และความเอาจริงเอาจังทำให้ผมได้ตีพิมพ์บทความในวารสารต่างประเทศสี่ครั้งในระยะเวลาสามปีแรกที่ทำงานอยู่ที่นั่น
เมื่อทำงานไประยะหนึ่ง
ผมก็เริ่มไปทำงานสายตามความถนัดเดิม ผมจะไปถึงที่ทำงานเก้าโมง
และจะทำงานไปเรื่อยๆจนสองสามทุ่มถึงจะกลับบ้าน
และสนุกกับงานจนผมมาทำงานในวันเสาร์ ผมทำงานอยู่สองปี
และแล้วมีอยู่วันหนึ่งที่ดร.ไวลด์ถามผมว่า
ไม่คิดจะเรียนต่อหรือ ไหนๆก็ทำวิจัยอยู่แล้ว
ทำไมไม่หาที่เรียนไปด้วยและเอางานวิจัยไปเป็นวิทยานิพนธ์ แล้วท่านก็นำเรื่องนี้ข้ามไปปรึกษาอาจารย์ศุภวัฒน์ทันที เป็นความโชคดีของผมที่เจ้านายทั้งสามคนเห็นพ้องต้องกันและอนุญาตให้ผมไปเรียนต่อได้
โดยที่ให้ผมเรียนไปด้วย
ทำงานไปด้วย และผมได้รับเงินเดือนหมือนเดิม ในปีรุ่งขึ้นผมกลับเข้าไปเป็นนักเรียนใหม่อีกครั้งหนึ่งในหลักสูตรวิทยาสตร์ชีวภาพ
วิชาเอกชีวเคมี โดยทางทีมวิจัยกำหนดกันว่าให้อาจารย์ธีระวัฒน์จะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและผมจะได้ทำงานวิจัยด้านไวรัสพิษสุนัขบ้า
การมาทำงานที่เสาวภา
เป็นบทหนึ่งของชีวิตที่พลิกผัน
ผมใช้แทบไม่ได้ใช้ความรู้ในวิชาชีพเฉพาะทางเลย
ผมใช้แต่ความรู้พื้นฐานและมาเรียนเอาใหม่จากประสพการณ์ทำงาน
เพื่อเตรียมตัวเรียนต่อ
ผมจึงได้เข้าไปฝึกหัดเพาะเลี้ยงเซลเพื่อเลี้ยงไวรัส
ประสพการณ์ต่างๆต่อยอดผมวันละเล็กวันละน้อย
ในวันที่ผมกำลังเขียนอยู่นี้
(กันยายน 2006) ผมไม่คาดฝันว่าผมจะได้กลับสู่สายอาชีพเก่าแก่ดั้งเดิมที่ผมเรียนมาเมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้วอีกครั้งหนึ่ง
มันเป็นไปได้อย่างไรก้ต้องติดตามกันต่อไปนะครับ
สี่ห้าปีที่ผมทำงานกับ
DiaTech ผมได้เพื่อนมากมายในคณะแพทย์ หลายคนยังคบกันต่อเนื่องยาวนาน
เที่ยวด้วยกัน คุยกัน
และยังคุยกันเกือบทุกวันผ่านอีเมล์ มีเพื่อนหลายๆคนที่ผมประทับใจ
ไม่ว่าจะเป็น ทวีพร อัญชลี
อภิสิทธิ์ ผมคงจะหาโอกาสเล่าให้ฟังวันหลัง